ในการปั้นเกมรุกของแมนซิตี้ที่เป็นแบบนี้นั้น หน้าที่ของแบ็คริมเส้นทั้งสองฝั่งก็จะแตกต่างออกไป เป๊ปไม่ได้แค่ปรับเปลี่ยนตัวเซนเตอร์แบ็คในแต่ละเกมเท่านั้น เขายังให้ผู้เล่นกองหลัง 4 คนปรับเปลี่ยนสไตล์การเล่นขึ้นอยู่กับการ Pressing ของฝั่งตรงข้ามเสมอ นอกจากนั้นก็ยังมีนักเตะอย่างไคล์ วอล์กเกอร์ เจ้าของตำแหน่งแบ็คขวาที่รับหน้าที่แสนหลากหลาย
ถึงวอล์คเกอร์จะเป็นแบ็คขวาที่มีรูปร่างบึกบึนและพละกำลังวิ่งที่เป็นอาวุธอันดุร้ายก็ตาม แต่เทคนิคเท้าขวาของเขานั้นก็สามารถปั้นเกมรุกได้ดี นอกจากนั้นยังมีเซนส์ในการกะจังหวะรวมทั้งพลังสายตาที่อยู่เหนือกว่าระดับมาตรฐานด้วย ซึ่งเป๊ปก็ให้ความสนใจในทักษะของเขาเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับมอบหมายหน้าที่ "แบ็คขวาตัวปลอม" ให้กับเขาเหมือนดั่งเช่นกับโยชัว คิมมิชนั่นเอง
ตอนปั้นเกมรุกที่อิงรูปแบบ 2+3 นั้น จะเริ่มจากการเปิดกว้างแล้วดันขึ้นตำแหน่งสูง แล้วก็ครองบอลไปมาพร้อมกันกับมิดฟิลด์ตัวพักบอลอย่างแฟร์นันดินโญและแบ็คซ้ายอย่างเมนดี้เป็น "3 คน" ตามสูตร 2+3 ส่วนในกรณีที่เป็น 3+2 นั้น เขาก็จะร่วมมือกันกับเซนเตอร์แบ็ค 2 คนแล้วเติมตัวเองเข้าไป 1 จนกลายเป็น "3" ขึ้นมา เขาไม่ใช่แบ็คขวาตามระบบ 4-1-4-1 แต่สามารถเข้าไปร่วมงานกับเซนเตอร์แบ็คเพื่อเล่น 3-4-3 ในการป้องกันแถวสุดท้ายของทีม ซึ่งความอิสระในการเคลื่อนไหวของวอล์คเกอร์นั้นก็เป็นจุดสำคัญในการปั้นเกมรุกของทีมแมนเชสเตอร์ซิตี้นั่นเอง
ปัจจัยของผู้รักษาประตู แบ็คริมเส้นและมิดฟิลด์ตัวพักบอลที่จำเป็นใน "เกมรุก" ของแมนซิตี้คือ?
カテゴリ:メガクラブ
2018/11/08
วอล์คเกอร์รับหน้าที่เป็นแบ็คขวาตัวปลอม

วอล์คเกอร์ที่เปลี่ยนตำแหน่งไปมาได้อย่างอิสระนั้นเขามีส่วนร่วมกับทีมเป็นอย่างยิ่ง
ภาพโดย:Getty Images