จากนั้นทางหนังสือพิมพ์ก็ทำการพุ่งประเด็นไปยังใจสำคัญว่า
"แต่ละสโมสรในเจลีกเพิ่มโควต้านักเตะต่างชาติเป็น 5 คน สำหรับสโมสร Cerezo Osaka(Kim Jin-hyeon, Yang Dong-hyen) Sagan Tosu(An Yong-woo, Cho Dong-geon, Kim-Min Ho), Kashima Antlers(Kwoun Sun-tae, Jeong Seung-Hyeon) จะมีนักเตะเกาหลีใต้อยู่หลายคนก็ตาม แต่พวกเขาก็จำเป็นต้องสู้ฟันฝ่าการแก่งแย่งพื้นที่ตัวจริงให้ได้ ต้องมีการเบียดแย่งพื้นที่อันน้อยนิด ซึ่งหากพลาดพลั้งขึ้นมาล่ะก็พวกเขาอาจจะกลายเป็นนักเตะที่มีหน้าที่สำหรับอุ่นม้านั่งในสนามไปเพียงอย่างเดียว"
ตลอดเวลาที่ผ่านมา การได้ไปเล่นในเจลีกนั้นก็ทำให้โอกาสลงเล่นตัวจริงมีอย่างเสถียรภาพ เงินทองก็เพิ่มขึ้น ทักษะก็ได้รับการพัฒนาซึ่งท้ายที่สุดก็เชื่อมโยงกับการทำให้ทีมชาติแข็งแกร่ง แต่ก็ไม่ทราบได้ว่าสิ่งนี้จะยั่งยืนหรือไม่... เพราะฉะนั้นความไม่ยั่งยืนก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสัญญาณความอันตราย โดยทางหนังสือพิมพ์ได้แสดงความคิดเห็นว่า "ตลาดของเจลีกยังไม่ปิดตาย มีความเป็นไปได้ว่าโควต้านักเตะต่างชาติจะต้องเพิ่มมากขึ้นกว่านี้"
"นักเตะเกาหลีผู้ข้ามทะเลไปค้าแข้งที่ญี่ปุ่นยังปลอดภัยอยู่หรือไม่?" หนังสือพิมพ์กีฬาเกาหลีใต้ตีแผ่เรื่องคลื่นลูกที่ 3 ความกังวลและสัญญาณเตือนกับกระแสเจลีก
カテゴリ:Jリーグ
2019/02/09
"หากพลาดพลั้ง จะได้กลายเป็นแค่คนอุ่นม้านั่งเพียงอย่างเดียว..."
สำหรับโควต้านักเตะต่างชาติ 5 คนนั้นเฉพาะ J1 เท่านั้น ส่วน J2 และ J3 ยังเป็น 4 คนเหมือนเดิม นอกจากนั้นทางเจลีกยังมีโควต้าอาเซี่ยน สำหรับนักเตะจากไทย, เวียดนาม, เมียนมาร์, กัมพูชา, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและกาตาร์ที่อยู่นอกเหนือขีดจำกัดนี้อยู่ด้วย สำหรับเกาหลีที่เป็นยักษ์ใหญ่ในวงการลูกหนังของเอเชียอีกแห่งนั้น โควต้าดังกล่าวจะมองเป็น "ผลประโยชน์" แบบเดียวไม่ได้เลย
ปัจจุบันนี้นักเตะเกาหลีใต้ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ขาดไม่ได้ในเจลีกฤดูกาลนี้ แต่ตามที่ทางหนังสือพิมพ์ Sport Seoul ได้ระบุเอาไว้ หากลองเพิ่งเจลีกไปอีกทางหนึ่งล่ะก็ อาจจะได้เห็นเจลีกในรูปแบบอื่นที่คาดไม่ถึงมาก่อนเลย
อ้างอิงข่าวจากหนังสือพิมพ์ Sport Seoul
ปัจจุบันนี้นักเตะเกาหลีใต้ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ขาดไม่ได้ในเจลีกฤดูกาลนี้ แต่ตามที่ทางหนังสือพิมพ์ Sport Seoul ได้ระบุเอาไว้ หากลองเพิ่งเจลีกไปอีกทางหนึ่งล่ะก็ อาจจะได้เห็นเจลีกในรูปแบบอื่นที่คาดไม่ถึงมาก่อนเลย
อ้างอิงข่าวจากหนังสือพิมพ์ Sport Seoul