Pick Up!

  • トップ
  • ニュース一覧
  • 【ศึกชิงแชมป์ J1】วัดกันแค่พลังอย่างเดียวไม่ได้? กุญแจที่จะไขบทสรุปของคาวาซากิและฮิโรชิมะคือ...

【ศึกชิงแชมป์ J1】วัดกันแค่พลังอย่างเดียวไม่ได้? กุญแจที่จะไขบทสรุปของคาวาซากิและฮิโรชิมะคือ...

カテゴリ:Jリーグ

白鳥和洋(サッカーダイジェスト)

2018/10/24

หากดูตัวอย่างของนาโกยะในปี 2016 ล่ะก็

การชิงจ่าฝูงระหว่างคาวาซากิกับฮิโรชิมะนั้น สุดท้ายแล้วผู้ที่จะยิ้มได้คือใครกัน?

ภาพโดย: J League Photo

画像を見る

  นาทีนี้ประเด็นที่น่าสนใจที่สุดคงไม่พ้นว่าใครจะได้เป็นแชมป์ของฤดูกาลนี้ ขณะนี้เหลือการแค่อีก 4 นัด ที่หนึ่งในตอนนี้คือคาวาซากิ(60 คะแนน) ส่วนอันดับ 2 คือฮิโรชิมะ(56 คะแนน) เพียงแต่หากมองการแข่งขันนับตั้งแต่นัดที่ 18 เป็นต้นมานั้น จ่าฝูงชนะ 8 เสมอ 3 แพ้ 2 เรียกได้ว่าอยู่ในสภาพที่ดี ส่วนรองจ่าฝูงชนะ 4 เสมอ 3 แพ้ 6 แม้ผลต่างลูกได้เสียจะเพียงแค่ 4 ลูกก็ตาม แต่ดูจากผลงานที่เกิดขึ้นแล้วก็กล่าวได้ว่า "โมเมนตัม" มันแตกต่างกันอย่างชัดเจนเลย
 
  เพราะฉะนั้นหากจะมองว่าคาวาซากิอยู่ในจุดที่เหนือกว่าก็คงไม่แปลกอะไร แต่สิ่งที่ห้ามลืมเป็นอันขาดว่า เมื่อทั้ง 2 ทีมผ่านการแข่งขันนัดที่ 30 ไปแล้วนั้น จะมีช่วงหยุดพักเข้ามาแทรกถึง 2 ครั้ง จนกว่าจะถึงการแข่งขันในวันสุดท้ายที่ 1 ธันวาคม

  วันที่ 27 ตุลาคมจะเป็นนัดชิงของศึกชิงถ้วยเลอะวัน ส่วนช่วงเดือนพฤศจิกายนจะเป็นช่วงพักเบรคนานาชาติ (16 พฤศจิกายนญี่ปุ่นเจอเวเนซูเอล่า 20 พฤศจิกายนเจอคีย์กีซสถาน) เพราะฉะนั้นตารางการแข่งขันของ J1 จะเป็นเช่นนี้
  นัดที่ 30 (19-21 ตุลาคม)  ~ นัดที่ 31 (2-4 พฤศจิกายน)
  นัดที่ 32 (10 พฤศจิกายน) ~ นัดที่ 33 (24 พฤศจิกายน)
  นั่นจึงหมายความว่า มีช่องว่างที่ยาวนานถึง 2 สัปดาห์ในช่วงดังกล่าว เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะคาดเดาโมเมนตัมที่อาจจะหายไปจากช่องว่างเหล่านั้นได้เลย
 
  ซึ่งหนึ่งในทีมที่ไม่สามารถรักษาโมเมนตัมเอาไว้ได้นั้น คือสโมสรนาโกย่าในช่วงท้ายฤดูกาลของปี 2016
  ในปีนั้น นาโกย่าภายใต้กุนซือใหม่ โอการะ ทาคาฟุมิที่เริ่มต้นได้อย่างไม่ค่อยสวยนัก การแข่งขันนัดที่ 11 จนถึง 18 ของสเตจ 1(ครึ่งแรกของฤดูกาล)นั้นไร้ซึ่งชัยชนะโดยทั้งสิ้น ตกลงไปอยู่อันดับที่ท้ายตาราง แต่หลังจากได้กุนซือคนใหม่อย่าง Boško Gjurovski เข้ามาดูแลนั้น ก็มีการเรียกตัวทานากะ มาร์คัส ทูลิโอที่กลับบ้านเกิดไปตั้งแต่ท้ายปี 2015 ให้กลับมาเล่นให้นาโกย่าอีกครั้งในรอบ 10 เดือนด้วยการฟอร์มระบบทีมใหม่จนการแข่งขัน 5 นัดถัดมา ชนะ 3 เสมอ 1 แพ้ 1 ไปได้ เป็นผลให้หลังจบนัดที่ 14 ของสเตจ 2 นั้นนาโกย่าขึ้นมาที่อันดับ 15 หนีมาจากโซนท้ายตารางได้
 
  ทว่าหลังการชนะทีมฟุกุโอกะ 5-0 ในนัดที่ 14 ของสเตจ 2 นั้น ก็เกิดเป็นช่องว่างยาวถึง 3 สัปดาห์ที่ทำให้เฟืองหนืด โมเมนตัมที่มีอยู่หายไปเลย ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่ฝั่งตรงข้ามมีเวลาคิดกลยุทธ์ในการรับมือได้เลยทำให้ 3 นัดสุดท้ายนั้นผลจบลงที่เสมอ 1 แพ้ 2 ผลงานที่กำลังดีอยู่นั้นชะงักลงทันที ส่งผลให้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นาโกย่าตกชั้นไปเล่นใน J2 แทน
 
  แม้จะมีความเห็นที่ออกมาในทำนองว่า "ทุกทีมต่างก็หนีตกชั้นกันหมด" ออกมาก็ตาม แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าช่องว่างที่ขาดหายไปนั้นส่งผลถึงโมเมนตัมเกมที่สามารถพลิกผันไปได้อีกด้วย
 

Facebookでコメント