Pick Up!

  • トップ
  • ニュース一覧
  • จะเอาโพโดลสกี้หรือชนาธิป? ทัศนวิสัยของสโมสรในเจลีคจากการปรับเพิ่มโควต้านักเตะช่างชาติ

จะเอาโพโดลสกี้หรือชนาธิป? ทัศนวิสัยของสโมสรในเจลีคจากการปรับเพิ่มโควต้านักเตะช่างชาติ

カテゴリ:Jリーグ

加部 究

2018/11/25

เมื่อต้องการแบ่งแยกขาวกับดำให้ชัดเจน แล้วจะไปตามหานักเตะชาวต่างชาติที่ไหนดีล่ะ

ในอนาคตอาจจะมีการนำตัวนักเตะชื่อดังเฉกเช่น อังเดรส อิเนียสต้า(ภาพซ้าย)และฟอร์นันโด ตอร์เรส(ภาพขวา)เข้ามาเสริมทัพอีกหรือไม่

(C) SOCCER DIGEST

画像を見る

  จริงอยู่ที่ในช่วงศตวรรษที่ 20 นั้นมีตำนานเกิดขึ้นอย่างหลากหลายมากมาย เมื่อย้อนกลับไปที่ปี 1973 สโมสรบาร์เซโลน่าที่เริ่มต้นฤดูกาลด้วยชนะ 3 เสมอ 2 แพ้ 2 นั้น การเข้ามาร่วมทีมของ Johan Cruyff ก็ทำให้บรรยากาศภายในทีมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เวลาผ่านไปครึ่งปีโดยชนะ 18 เสมอ 6 ไม่มีความพ่ายแพ้เลยทั้งสิ้น ทำให้ฉลองการก่อตั้งสโมสรครบ 75 ปีด้วยความยิ่งใหญ่ 
  ทางฝั่งเซเรียอาในฤดูกาล 1998-1999 ที่การมาเยือนของ Álvaro Recoba ของ Venezia ที่อยู่ในจุดดำดิ่งนั้นทำให้ทีมรอดพ้นจากการตกชั้นและขึ้นมาอยู่อันดับที่ 11 ได้ 
  แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งจนเข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 21 ที่พื้นที่และเวลาถูกจำกัดนั้นจึงทำให้การควานหาตำนานเป็นเรื่องที่เกิดได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งหากดูทางเจลีคในตอนนี้ แทนที่จะไปลงทุนเรื่องนักเตะสู้มาลงทุนเรื่องผู้จัดการเหมือนเช่นสโมสรกัมบะโอซาก้าที่ให้กุนซือมิยาโมโตะ สึเนยาสุเข้ามาคุมทีมที่มีลุ้นตกชั้นจนสามารถสร้างฟอร์มดีเยี่ยมคว้าชัยชนะต่อเนื่อง 8 นัดไปอย่างไม่หยุดหย่อน
  แม้จะทุ่มเงินแค่ไหนแต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ผู้เล่นชื่อดังจะไม่ย้ายมาเล่นให้กับเจลีค ซึ่งในกรณีเดียวกันนั้น ก็ยังมีผู้เล่นหลายรายที่เป็นนักเตะชื่อดังและผ่านช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จแล้ว ที่ย้ายมาเจลีคแต่ก็ไม่สามารถสร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอันได้มากนัก เพราะฉะนั้นเพื่อการแบ่งแยกขาวและดำให้ชัดเจนจึงเป็นคำถามต่อว่าแล้วแต่ละสโมสรควรจะไปหาตัวนักเตะจากที่ไหนดี ตัวอย่างเช่นแม้จะได้โจยอดกองหน้าชื่อดังมาร่วมทีมก็ตาม แต่ถ้าตราบใดที่เขาไม่สามารถพาลูกทำเกมบุกได้ดีนั้นก็ไม่อาจส่งผลให้ทีมทำประตูขึ้นนำได้ ซึ่งในกรณีเดียวกันกับสโมสรนาโกย่าที่ในอดีตเคยนำตัวของอาร์เซน เวงเกอร์เข้ามาร่วมทีมก็ทำให้เห็นความฉวัดเฉวียนที่เกิดขึ้นกับทีมอย่างทันตา
  ในเมื่อไม่สามารถหานักเตะอย่างเมสซี่หรือเอ็มบาปเป้ให้เข้ามาร่วมในเจลีคได้อยู่แล้ว แทนที่จะหานักเตะอย่างโพโดลสกี้ที่จำนวนความถี่ในการวิ่งในสนามเริ่มโรยรา สู้หานักเตะไฟแรงที่มีความกระหายในสนามอย่างชนาธิปมานั้นยังจะคงสร้างอิมแพ็คให้กับทีมได้กว่าเป็นไหน ๆ ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของสโมสรว่าต้องการความโด่งดังหรือควาสำเร็จกันแน่

  ในการจะทำให้องค์กรแข็งแกร่งในระยะยาวนั้น ควรจะเป็นรูปแบบของการพัฒนาประสิทธิภาพของนักเตะญี่ปุ่นจึงจะได้ประโยชน์ยิ่งเสียกว่า การจะหานักเตะชาวต่างชาติที่มีเงื่อนไขดีถ้วนและสร้างประโยชน์ในแง่บวกให้กับทีมได้อย่างล้นหลามนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นแทนที่จะถ่อออกไปตามหาสู้พัฒนานักเตะขึ้นมาเองจะดีกว่าไหม ควรลงทุนบ่มเพาะกับต้นอ่อนใหม่เพื่อเป็นรากฐานในอนาคตขององค์กรสืบต่อไปเสียยังดีกว่า
 
ข่าวโดย คาเบะ คิวามุ
 

Facebookでコメント