แม้จะเสนอให้มีการ "ยกเลิกโควต้า" ออกมาก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นการบังคับให้แต่ละสโมสร "คว้าตัวนักเตะต่างชาติ" แต่อย่างใด พูดตามตรงแล้ว ถ้าจะมีทีมที่ส่งนักเตะต่างชาติลงทั้งทีมก็ไม่เห็นเป็นอะไร ส่วนจะมีทีมไหนที่จะคงจำนวนนักเตะไว้เท่าเดิมก็ไม่มีปัญหาอะไรทั้งนั้น
สำหรับสโมสรที่ไม่มีเงินมากนัก การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อาจจะไม่ได้กระทบอะไรกับพวกเขามากเลย แต่ในอีกแง่หนึ่งนั้นนี่ก็เป็นช่วงเวลาที่จะคว้าโอกาสทองได้เช่นกัน การมีนักเตะต่างชาติเพิ่มขึ้นมานั้นแม้จะมีเปลือกนอกว่าเป็นการสิ้นเปลืองก็ตาม แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการลดจำนวนนักเตะในสังกัดของตัวเองลงได้ ทีมที่จะมีอคาเดมีของตัวเองเพื่อปั้นนักเตะของตัวเองขึ้นมานั้นก็จะกลายเป็น "สโมสรปั้นนักเตะ" ที่เป็นลักษณะนั้นไปแทน
เมื่อเป็นเช่นนั้น อัตลักษณ์ของแต่ละสโมสรที่มีอย่างหลากหลายก็จะเป็นการกระตุ้นลีคทั้งทางตรงและทางอ้อม โอกาสที่จะทำให้คนทั่วไปสนนาในเกมการแข่งขันก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังเป็นผลให้เกิดช่องว่างในความหมายที่ดีขึ้นมาอีกด้วย ส่งนักเตะรุ่นใหม่ให้ไปเล่นแบบยืมตัวที่ต่างแดน พร้อมกับทำการคว้านักเตะแข็งแกร่งเพื่อเสริมทัพทีมให้โดดเด่นขึ้นอย่างทันตา หากสโมสรสามารถสร้างผลงานได้ดีก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แล้วก็นำรายได้เหล่านั้นไปซ์้อนักเตะใหม่ สโมสรระดับโลกนั้นทำการรวบรวมนักเตะมากฝีมือเอาไว้ ส่วนสโฒสรขนาดเล็กก็ค้านักเตะของตัวเองเพื่อทำกำไร บางทีหากมีระบบแบบนี้เกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นล่ะก็อาจจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยเลย
สรุปง่าย ๆ ก็คือโดยส่วนตัวแล้วผมอยากให้มีสโมสรในญี่ปุ่นที่กลายเป็นสโมสรระดับโลกบ้าง หากมีสโมสรไหนที่ออกไปโลดแล่นในการชิงถ้วยจ้าวแห่งเอเชียอย่าง ACL อย่างต่อเนื่องนั้นก็จะทำให้คุณค่าของลีคเพิ่มสูงขึ้น เกมการแข่งขันในแต่ละนัดก็จะเต็มไปด้วยการเล่นคุณภาพสูง ซึ่งนั่นอาจจะเป็นการลดจำนวนของนักเตะที่ไม่กล้ามาค้าแข้งในญี่ปุ่นเนื่องจากไม่กล้ารับความเสี่ยงลงไปได้อีกด้วย
อยากจะให้ญี่ปุ่นมีสโมสรบิ๊ก ๆ กับเขาบ้าง

นักเตะชาวต่างชาติที่มากฝีมืออาทิ João ของนาโกย่า(หมายเลข 7) หรือ Gabriel Xavier (หมายเลข 10) มีอยู่มากมาย หากมีนักเตะระดับนี้เพิ่มมากขึ้นล่ะก็ เจลีคจะต้องยกระดับขึ้นไปอีกแน่นอน
ภาพโดย: โมโตกิ อากิระ (Soccer Digest Photo Team)
การกระทำอย่างสิ้นเปลืองแบบสโมสรวิสเซลโกเบที่ต้องเคลียร์โควต้านักเตะต่างชาติที่ตัวเองมีเพื่อนำตัวอิเนียสต้ามาเข้าทีมให้ได้นั้นก็จะหมดไป หากสามารถแก้กฎลักษณะนี้ได้ เมื่อฤดูกาลของลีคยุโรปสิ้นสุดลงในช่วงฤดูร้อนนั้น บางทีอาจจะมีสโมสรหลายแห่งที่เริ่มเคลื่อนไหวในเชิงรุกอีกก็เป็นได้
นอกจากการที่เจลีคจะเพิ่มโควต้านักเตะต่างชาติแล้วนั้น ยังมุ่งหวังที่จะติดตั้งระบบ "Homegrown System" อีกด้วย หนึ่งในนั้นคือการบังคับให้แต่ละสโมสรมีการปั้นนักเตะเยาวชนอย่างน้อย 2 คนในเป็นเวลาขั้นต่ำ 3 ปี (นักเตะในช่วงอายุ 12-21 ปี) นั่นเอง
ด้วยการออกกฎบังคับรวมไปถึงการใช้งานระบบการปล่อยตัวนักเตะให้สโมสรอื่นนั้น หากทำได้ดีล่ะก็จะเป็นการแก้ปัญหา "อุปสรรคต่อการพัฒนานักเตะเยาวชน" ลงไปได้อีกด้วย
การจะเปลี่ยนแปลงฟุตบอลให้ทันโลกนั้น ถ้าจะมามัวแต่คอยปกป้องคนญี่ปุ่นอย่างเดียวมันก็ไม่มีทางไปไหนทั้งสิ้น ควรจำเป็นต้องเปิดการแข่งขันกันอย่างอิสระเสรีถึงจะเป็นการดีที่สุด
นอกจากการที่เจลีคจะเพิ่มโควต้านักเตะต่างชาติแล้วนั้น ยังมุ่งหวังที่จะติดตั้งระบบ "Homegrown System" อีกด้วย หนึ่งในนั้นคือการบังคับให้แต่ละสโมสรมีการปั้นนักเตะเยาวชนอย่างน้อย 2 คนในเป็นเวลาขั้นต่ำ 3 ปี (นักเตะในช่วงอายุ 12-21 ปี) นั่นเอง
ด้วยการออกกฎบังคับรวมไปถึงการใช้งานระบบการปล่อยตัวนักเตะให้สโมสรอื่นนั้น หากทำได้ดีล่ะก็จะเป็นการแก้ปัญหา "อุปสรรคต่อการพัฒนานักเตะเยาวชน" ลงไปได้อีกด้วย
การจะเปลี่ยนแปลงฟุตบอลให้ทันโลกนั้น ถ้าจะมามัวแต่คอยปกป้องคนญี่ปุ่นอย่างเดียวมันก็ไม่มีทางไปไหนทั้งสิ้น ควรจำเป็นต้องเปิดการแข่งขันกันอย่างอิสระเสรีถึงจะเป็นการดีที่สุด