ในช่วงครึ่งฤดูกาลแรกโชว์ฟอร์มเยี่ยมจบที่อันดับ 4
ฟุจิโมโตะผู้ยิง 2 ประตูในนัดประเดิมสนาม นับตั้งแต่นั้นทีมก็รักษาโมเมนตัมต่อเนื่อง
ภาพโดย: ยามาซากิ เคนโตะ(Soccer Digest Photo Team)
สโมสร Oita Trinita ภายใต้การคุมทีมเข้าสู่ปีที่ 4 ของกุนซือคาตาโนะซากะ โทโมฮิโระได้แสดงศักยภาพฟุตบอลที่มีความเข้มข้นละเอียดยิบออกมา นัดเปิดสนามในฤดูกาลนี้หลังจากเลื่อนชั้นมานั้นก็เอาชนะยักษ์ใหญ่อย่างคาชิม่าด้วยผลการแข่งขัน 2-1 แม้นัดที่สองจะแพ้มัตสึโมโต้แต่นับตั้งแต่นัดที่ 3 ที่เจอกับอิวาตะและโยโกฮาม่าก็เก็บชัยชนะต่อเนื่อง ทีมเก็บคะแนนอย่างไม่หยุดหย่อนจนทำให้เมื่อจบครึ่งฤดูกาลแรกเก็บสถิติได้ที่ชนะ 8 เสมอ 5 แพ้ 4 อยู่อันดับ 4 ของตารางที่เป็นฟอร์มการเล่นอย่างแสนเหลือเชื่อ โดยทางกุนซือคาตาโนะซากะก็ระบุว่า "ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปแล้วจบที่อันดับ 4 ในท้ายฤดูกาลได้ล่ะก็จะไม่มีอะไรพอใจไปกว่านี้อีกแล้ว" นั่นคือบทสัมภาษณ์ของเขาในช่วงเดือนพฤษภาคม
สไตล์การเล่นเน้นครองบอลที่มีพื้นฐานจากการวางแทคติกที่มีความละเอียดยิบ ความเหนือกว่าในแง่การวางตำแหน่งและคุณภาพตัวนักเตะ เพื่อการนั้นแล้วจึงทำให้ผู้รักษาประตูต้องคอยมาช่วยปั้นเกมจากเส้นสุดท้ายอย่างต่อเนื่อง นักเตะแต่ละคนต้องเฟ้นหา "ช่องว่าง" ของฝั่งตรงข้ามแล้วก็ทำประตูขึ้นมาจากช่องว่างดังกล่าวให้ได้นั้น มิหนำซ้ำเมื่อ "สบโอกาส" พอสังเกตเห็นช่องว่างที่จ่ายบอลยาวก็จะโยนบอลไปแล้วก็ให้นักเตะลอดหลังพร้อมกับแสดงการลากเลื้อยทะลุทะลวงที่เรียกว่าเป็น "กลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น"
ก็มีหลายทีมใน J1 ที่โดนฟุตบอลเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโออิตะเล่นงานอย่างการให้ผู้รักษาประตูออกมานอกกรอบเพื่อมีส่วนร่วมในการปั้นเกมด้วย เพียงแต่ว่าการจะรักษาผลงานให้สม่ำเสมอในลีกสูงสุดตลอดฤดูกาลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างไร
สไตล์การเล่นเน้นครองบอลที่มีพื้นฐานจากการวางแทคติกที่มีความละเอียดยิบ ความเหนือกว่าในแง่การวางตำแหน่งและคุณภาพตัวนักเตะ เพื่อการนั้นแล้วจึงทำให้ผู้รักษาประตูต้องคอยมาช่วยปั้นเกมจากเส้นสุดท้ายอย่างต่อเนื่อง นักเตะแต่ละคนต้องเฟ้นหา "ช่องว่าง" ของฝั่งตรงข้ามแล้วก็ทำประตูขึ้นมาจากช่องว่างดังกล่าวให้ได้นั้น มิหนำซ้ำเมื่อ "สบโอกาส" พอสังเกตเห็นช่องว่างที่จ่ายบอลยาวก็จะโยนบอลไปแล้วก็ให้นักเตะลอดหลังพร้อมกับแสดงการลากเลื้อยทะลุทะลวงที่เรียกว่าเป็น "กลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น"
ก็มีหลายทีมใน J1 ที่โดนฟุตบอลเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโออิตะเล่นงานอย่างการให้ผู้รักษาประตูออกมานอกกรอบเพื่อมีส่วนร่วมในการปั้นเกมด้วย เพียงแต่ว่าการจะรักษาผลงานให้สม่ำเสมอในลีกสูงสุดตลอดฤดูกาลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างไร
ทานากะ ทัตสึยะที่คว้าตัวมาจากกัมบะโอซาก้าในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมานั้นก็เคยสู้กันมาก่อนแล้ว ในนัดดังกล่าวแผนการรับมือของกัมบะโอซาก้าที่เตรียมต่อโออิตะคือ "ป้องกันให้รัดกุม"
ในนัดที่ 12 ที่เจอกับชิมิซึนั้นก็มีการเพรสซิ่งต่อเนื่องจนทำให้กองหลังมีการต่อบอลผิดพลาดเป็นผลให้ชิมิซึได้จุดโทษและสังหารประตูขึ้นนำไป
เมื่อมาตรการรับมือการปั้นเกมของโออิตะถูกหาจุดอ่อนเจอนั้น ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังที่ผ่านมา 8 นัดโออิตะชนะ 1 เสมอ 4 แพ้ 3 ไม่ว่าจะเป็นทานากะหรืออิวาตะ โทโมกิก็ยังพูดว่า "รู้สึกเหมือนพวกเราถูกทำการบ้านมาก่อนแล้ว" ซึ่งทางอิวาตะก็ระบุว่า "ต้องเพิ่มระดับในการเปิดลูกและการจบสกอร์จังหวะสุดท้าย" และทานากะก็พูดว่า "จำเป็นต้องยกระดับการเปิดลูกและความแม่นยำในการยิงให้ได้" พวกเขามองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือปัญหาที่ตัวเองสามารถแก้ไขได้ ในนัดล่าสุดที่เจอกับมัตสึโมโต้แล้วจบโดยไม่มีสกอร์นั้นทางกุนซือคาตาโนะซากะเองก็ระบุเช่นนั้นเหมือนกัน
"มีโอกาสเกิดขึ้นมากมาย แต่การเปิดบอลยาว การยิงและการจ่ายจังหวะสุดท้ายนั้นยังมีปัญหาอยู่ มันไม่ใช่เพียงเฉพาะวันนี้เท่านั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มีลักษณะแบบนี้เยอะมาก ในนัดนี้มีความเข้าใกล้ประตูมากยิ่งขึ้น แต่คงต้องให้นักเตะในแนวหน้าคอยพากเพียรฝึกฝนให้หนักขึ้นกว่าเดิมแต่เพียงเท่านั้น ของแบบนี้มันเปลี่ยนปุบปับเลยไม่ได้"
ในช่วงครึ่งฤดูกาลแรกทีมยิงไปได้ 21 ลูกจากโอกาสทั้งหมด 113 ครั้ง ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังมี 6 ประตูจาก 41 ครั้ง หากคิดเป็นอัตราส่วนแล้วของครึ่งแรกอยู่ที่ 18.6% ส่วนครึ่งหลังอยู่ที่ 14.6% เท่านั้น ก็สังเกตเห็นได้ว่าตัวเลขลดน้อยลง แต่เนื่องจากจำนวนคู่แข่งที่เจอยังมีความแตกต่างกัน ข้อมูลตรงนี้จึงยังไม่สามารถเปรียบเทียบได้กระมัง
อีกทั้งยังมีอีกหนึ่งประเด็น นอกเหนือจากทีมฝั่งตรงข้ามจะทำการบ้านมาก่อนแล้ว จุดเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่หลวงของโออิตะครึ่งฤดูกาลแรกและครึ่งฤดูกาลหลังนั้นคือการย้ายไปสโมสร Vissel Kobe ของฟุจิโมโตะ โนริอากิ
ในนัดที่ 12 ที่เจอกับชิมิซึนั้นก็มีการเพรสซิ่งต่อเนื่องจนทำให้กองหลังมีการต่อบอลผิดพลาดเป็นผลให้ชิมิซึได้จุดโทษและสังหารประตูขึ้นนำไป
เมื่อมาตรการรับมือการปั้นเกมของโออิตะถูกหาจุดอ่อนเจอนั้น ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังที่ผ่านมา 8 นัดโออิตะชนะ 1 เสมอ 4 แพ้ 3 ไม่ว่าจะเป็นทานากะหรืออิวาตะ โทโมกิก็ยังพูดว่า "รู้สึกเหมือนพวกเราถูกทำการบ้านมาก่อนแล้ว" ซึ่งทางอิวาตะก็ระบุว่า "ต้องเพิ่มระดับในการเปิดลูกและการจบสกอร์จังหวะสุดท้าย" และทานากะก็พูดว่า "จำเป็นต้องยกระดับการเปิดลูกและความแม่นยำในการยิงให้ได้" พวกเขามองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือปัญหาที่ตัวเองสามารถแก้ไขได้ ในนัดล่าสุดที่เจอกับมัตสึโมโต้แล้วจบโดยไม่มีสกอร์นั้นทางกุนซือคาตาโนะซากะเองก็ระบุเช่นนั้นเหมือนกัน
"มีโอกาสเกิดขึ้นมากมาย แต่การเปิดบอลยาว การยิงและการจ่ายจังหวะสุดท้ายนั้นยังมีปัญหาอยู่ มันไม่ใช่เพียงเฉพาะวันนี้เท่านั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มีลักษณะแบบนี้เยอะมาก ในนัดนี้มีความเข้าใกล้ประตูมากยิ่งขึ้น แต่คงต้องให้นักเตะในแนวหน้าคอยพากเพียรฝึกฝนให้หนักขึ้นกว่าเดิมแต่เพียงเท่านั้น ของแบบนี้มันเปลี่ยนปุบปับเลยไม่ได้"
ในช่วงครึ่งฤดูกาลแรกทีมยิงไปได้ 21 ลูกจากโอกาสทั้งหมด 113 ครั้ง ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังมี 6 ประตูจาก 41 ครั้ง หากคิดเป็นอัตราส่วนแล้วของครึ่งแรกอยู่ที่ 18.6% ส่วนครึ่งหลังอยู่ที่ 14.6% เท่านั้น ก็สังเกตเห็นได้ว่าตัวเลขลดน้อยลง แต่เนื่องจากจำนวนคู่แข่งที่เจอยังมีความแตกต่างกัน ข้อมูลตรงนี้จึงยังไม่สามารถเปรียบเทียบได้กระมัง
อีกทั้งยังมีอีกหนึ่งประเด็น นอกเหนือจากทีมฝั่งตรงข้ามจะทำการบ้านมาก่อนแล้ว จุดเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่หลวงของโออิตะครึ่งฤดูกาลแรกและครึ่งฤดูกาลหลังนั้นคือการย้ายไปสโมสร Vissel Kobe ของฟุจิโมโตะ โนริอากิ