ผ่านการทดสอบหลายอย่างกว่าจะได้มาเมืองไทย ใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าจะได้เซ็นสัญญา
โคจิมะผู้ให้สัมภาษณ์ สมัยอยู่มัธยมปลายเคยคว้าแชมป์สองหนร่วมกันกับโอมาเอะ เกงกิ(โอมิยะ)และพรรคพวก
ภาพโดย: ซาซากิ ยูสุเกะ
หนทางของนักฟุตบอลมืออาชีพไม่ได้มีเพียงเจลีกเท่านั้น เมื่อปรายตามองออกไปยังโลกกว้างก็พบกับชาวญี่ปุ่นมากมายที่ไม่รู้จักเจลีกเสียด้วยซ้ำ
มีนักเตะญี่ปุ่นอยู่ 1 คนผู้เทิร์นโปรที่เมืองไทย แวะไปค้าแข้งที่บังคลาเทศและญี่ปุ่นจนล่าสุดก็เดินทางกลับมาที่เมืองไทยอีกครั้ง ชื่อของเขาก็คือโคจิมะ เซยะ อายุ 30 ปี ค้าแข้งมืออาชีพเข้าสู่ปีที่ 8 ผู้มีสมรภูมิหลักอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาฟังเรื่องราวชีวิตจากปากของเขากัน
――◆――◆――
――เป็นพี่น้องนักฟุตบอลกันทั้งคู่เลย(น้องชายชื่อโคจิมะ ชูโตะ/JEF United)สภาพแวดล้อมทำให้เป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ
"พ่อผมก็เล่นฟุตบอลตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย(โรงเรียนโคกะไดอิจิ)จนถึงมหาลัย(โฮเซ) แม่ก็เคยเป็นผู้จัดการชมรมฟุตบอลสมัยอยู่ม.ปลายด้วย ก็เป็นครอบครัวฟุตบอลกันทั้งบ้านเลยครับ น้องชายกับผมก็เลยเขี่ยบอลกันโดยธรรมชาติเลย"
――หลังจากที่สะสมประสบการณ์กับชมรมในท้องถิ่น ก็บุกตะลุยไปที่ริวซือเคเซไดคาชิวะในระดับม.ปลายสินะครับ
"ในตอนนั้นจิบะเป็นยุคทองของโรงเรียน"อิชิฝุน่า"ครับ สมัยของผม(ม.6)สามารถคว้าแชมป์ระดับประเทศมาครองได้ครับ ตั้งแต่ผ่านรอบ 4 ทีมสุดท้ายของอินเตอร์ไฮไปได้ก็ไม่แพ้ใครในเกมอย่างเป็นทางการเลยครับ ตอนนั้นเก่งมากเลย(ยิ้มเขินๆ)"
――ความทรงจำในสมัยม.ปลายที่ดูไปได้สวยมีอะไรบ้างหรือครับ
"ไม่มีความทรงจำอะไรนอกจากความลำบากเลยครับ โค้ช(ฮอนดะ ยูอิจิโร่)ต้องการทั้ง "ปริมาณ" และ "คุณภาพ" ถ้ายังมีหนึ่งคนที่วิ่งอยู่ทุกคนก็ต้องวิ่งด้วย ถ้ามีหนึ่งคนทำทักษะอะไรได้คนอื่นก็ต้องทำให้ได้ด้วย พวกเรารับการชี้แนะเพื่อไปสู่ความเป็นอุดมคติครับ นอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มคนที่เกลียดการพ่ายแพ้ด้วย เหตุการณ์กระชากคอเสื้อกับการปะทะกันนี่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเลยครับ มันเลยทำให้รู้สึกว่าการแข่งขันเป็นอะไรที่เบาสบายมาก วันไหนที่มีแข่งจะมีความสุขมากเลย แต่วันไหนที่แพ้ก็ต้องออกวิ่งจนกว่าตะวันจะตกดินเลยครับ ความหวาดกลัวนั้นเลยทำให้วิ่งในสนามอย่างไม่หยุดก็ว่าได้ครับ(ยิ้มแหย)"
――ระดับมหาลัยคือชมรมฟุตบอลของมหาวิทยาลัยริวซือเคไซ
"ตั้งแต่ชั้นปี 1 ก็ได้อยู่ทีมชุด 2(เล่น JFL) พอปี 2 ได้อยู่ทีมชุด 1(เล่นในคันโตดิวิชัน 1) พอปี 3 ก็ย้ายมาเล่นมิดฟิลด์ตัวรับ เป็นการใช้หัวเป็นหลักแต่ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสครับ อิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้สมดุลของร่างกายและจิตใจพังทลายจนไม่สามารถฟื้นคืนมาได้ พอมานึกถึงในตอนนี้แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองในตอนนั้นยังอ่อนหัดเหลือเกิน เพียงแต่ว่าโค้ชที่คอยเฝ้าดูผมในตอนนั้น(โอฮิระ มาซากิ)เขาเชื่อมโยงโอกาสให้ผมได้มาที่ไทยครับ ผมต้องขอบคุณมาก ๆ เลย"
――พอปี 2012 ที่จบการศึกษาระดับมหาลัยก็ฝันที่จะเป็นนักฟุตบอลมืออาชีพจึงข้ามน้ำข้ามทะเลมาสินะครับ
"ถึงจะคว้าโอกาสมาเมืองไทยได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าการมาไทยคือมีการการันตีสัญญากับทีมไหนหรอกนะครับ ผมต้องสอบหลายอย่าง ใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าจะได้เซ็นสัญญา ประกอบกับนักฟุตบอลชาวแอฟริกาติดปัญหาเรื่องวีซ่าเลยทำให้โควต้าในทีมเหลือ ก็นับว่ามีโชคช่วยด้วยล่ะนะครับ สรุปคือได้ย้ายทีมก่อนฤดูกาลเริ่ม 3 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาฉิวเฉียดก่อนตลาดซื้อขายปิดเลยครับ"
มีนักเตะญี่ปุ่นอยู่ 1 คนผู้เทิร์นโปรที่เมืองไทย แวะไปค้าแข้งที่บังคลาเทศและญี่ปุ่นจนล่าสุดก็เดินทางกลับมาที่เมืองไทยอีกครั้ง ชื่อของเขาก็คือโคจิมะ เซยะ อายุ 30 ปี ค้าแข้งมืออาชีพเข้าสู่ปีที่ 8 ผู้มีสมรภูมิหลักอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาฟังเรื่องราวชีวิตจากปากของเขากัน
――◆――◆――
――เป็นพี่น้องนักฟุตบอลกันทั้งคู่เลย(น้องชายชื่อโคจิมะ ชูโตะ/JEF United)สภาพแวดล้อมทำให้เป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ
"พ่อผมก็เล่นฟุตบอลตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย(โรงเรียนโคกะไดอิจิ)จนถึงมหาลัย(โฮเซ) แม่ก็เคยเป็นผู้จัดการชมรมฟุตบอลสมัยอยู่ม.ปลายด้วย ก็เป็นครอบครัวฟุตบอลกันทั้งบ้านเลยครับ น้องชายกับผมก็เลยเขี่ยบอลกันโดยธรรมชาติเลย"
――หลังจากที่สะสมประสบการณ์กับชมรมในท้องถิ่น ก็บุกตะลุยไปที่ริวซือเคเซไดคาชิวะในระดับม.ปลายสินะครับ
"ในตอนนั้นจิบะเป็นยุคทองของโรงเรียน"อิชิฝุน่า"ครับ สมัยของผม(ม.6)สามารถคว้าแชมป์ระดับประเทศมาครองได้ครับ ตั้งแต่ผ่านรอบ 4 ทีมสุดท้ายของอินเตอร์ไฮไปได้ก็ไม่แพ้ใครในเกมอย่างเป็นทางการเลยครับ ตอนนั้นเก่งมากเลย(ยิ้มเขินๆ)"
――ความทรงจำในสมัยม.ปลายที่ดูไปได้สวยมีอะไรบ้างหรือครับ
"ไม่มีความทรงจำอะไรนอกจากความลำบากเลยครับ โค้ช(ฮอนดะ ยูอิจิโร่)ต้องการทั้ง "ปริมาณ" และ "คุณภาพ" ถ้ายังมีหนึ่งคนที่วิ่งอยู่ทุกคนก็ต้องวิ่งด้วย ถ้ามีหนึ่งคนทำทักษะอะไรได้คนอื่นก็ต้องทำให้ได้ด้วย พวกเรารับการชี้แนะเพื่อไปสู่ความเป็นอุดมคติครับ นอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มคนที่เกลียดการพ่ายแพ้ด้วย เหตุการณ์กระชากคอเสื้อกับการปะทะกันนี่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเลยครับ มันเลยทำให้รู้สึกว่าการแข่งขันเป็นอะไรที่เบาสบายมาก วันไหนที่มีแข่งจะมีความสุขมากเลย แต่วันไหนที่แพ้ก็ต้องออกวิ่งจนกว่าตะวันจะตกดินเลยครับ ความหวาดกลัวนั้นเลยทำให้วิ่งในสนามอย่างไม่หยุดก็ว่าได้ครับ(ยิ้มแหย)"
――ระดับมหาลัยคือชมรมฟุตบอลของมหาวิทยาลัยริวซือเคไซ
"ตั้งแต่ชั้นปี 1 ก็ได้อยู่ทีมชุด 2(เล่น JFL) พอปี 2 ได้อยู่ทีมชุด 1(เล่นในคันโตดิวิชัน 1) พอปี 3 ก็ย้ายมาเล่นมิดฟิลด์ตัวรับ เป็นการใช้หัวเป็นหลักแต่ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสครับ อิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้สมดุลของร่างกายและจิตใจพังทลายจนไม่สามารถฟื้นคืนมาได้ พอมานึกถึงในตอนนี้แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองในตอนนั้นยังอ่อนหัดเหลือเกิน เพียงแต่ว่าโค้ชที่คอยเฝ้าดูผมในตอนนั้น(โอฮิระ มาซากิ)เขาเชื่อมโยงโอกาสให้ผมได้มาที่ไทยครับ ผมต้องขอบคุณมาก ๆ เลย"
――พอปี 2012 ที่จบการศึกษาระดับมหาลัยก็ฝันที่จะเป็นนักฟุตบอลมืออาชีพจึงข้ามน้ำข้ามทะเลมาสินะครับ
"ถึงจะคว้าโอกาสมาเมืองไทยได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าการมาไทยคือมีการการันตีสัญญากับทีมไหนหรอกนะครับ ผมต้องสอบหลายอย่าง ใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าจะได้เซ็นสัญญา ประกอบกับนักฟุตบอลชาวแอฟริกาติดปัญหาเรื่องวีซ่าเลยทำให้โควต้าในทีมเหลือ ก็นับว่ามีโชคช่วยด้วยล่ะนะครับ สรุปคือได้ย้ายทีมก่อนฤดูกาลเริ่ม 3 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาฉิวเฉียดก่อนตลาดซื้อขายปิดเลยครับ"