ชาวญี่ปุ่นคนแรกของ World Soccer Digest ที่สอบผ่านคอร์ส Sport Madrid MBA ของสโมสรเรอัลมาดริด คุณซาไก ฮิโรยูกิ ได้รับการแต่งตั้งเป็น Front Staff และบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในแวดวงฟุตบอลยุโรปและเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างมากมาย
โดยในบทความชุดที่ 4 นี้ จะเป็นการพูดถึงเรื่องราวของสโมสรเล็ก ๆ สโมสรหนึ่งอย่าง Eibar ที่ได้ลงเล่นในลาลีก้า ซึ่งทางเราจะเอาเนื้อหาบางส่วนในนิตยสารมาเล่าสู่กันฟังผ่านทางหน้าเว็บไซต์
――◇◇――◇◇――◇◇――◇◇――
เมื่อสิ้นสุดเดือนกันยายน สโมสร Urawa Reds ได้รับอันดับ 1 จากการประกาศผล "J-League Management Cup 2017" ออกมา
การแข่งขันนี้เป็นการจัดอันดับความสามารถในการควบคุมบริหารตัวสโมสร ทั้งในเรื่องธุรกิจ การจัดการภาษีของสโมสรในเจลีคทั้งหมด 54 แห่ง ซึ่งในปี 2017 นี้ก็เป็นที่ 4 แล้วที่มีการจัดการแข่งขันดังกล่าวออกมา
ความแข็งแกร่งของสโมสรอุราวะที่ได้ Top ถึง 3 หนนั้นเกิดจากรายได้ค่าตั๋วที่สูงสุดในลีค (2,300 ล้านเยน) ที่คิดเป็น 29% ของรายได้รวม (8,000 ล้านเยน) การที่มีผู้ชมเข้ามาชมการแข่งขันในสนามเยอะ จึงทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งคิดเป็น 10% ของรายได้รวม (ที่ 800 ล้านเยน) นั่นเอง
รายได้หลักของสโมสรในเจลีคนั้นคือค่าตั๋ว ค่าขายสินค้าและค่าโฆษณา แต่ก็มีหลายสโมสรที่ค่าโฆษณาสูญไปจากการโฆษณาทีมเจ้าของสโมสร ส่วนทางด้านยอดขายตั๋วเข้าชมและการขายสินค้านั้นถือว่าแปรผันโดยตรงกับความสำเร็จของทีม เป็นปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม ท้ายที่สุดแล้วจึงทำให้มีอยู่หลายกรณีที่บริษัทเจ้าของใหญ่ไม่พึงพอใจกับสภาพรายรับรายจ่ายของทีมเช่นเดียวกัน
สตาฟคนญี่ปุ่นของเรอัลมาดริดบอกเล่า "สโมสร Eibar ที่ผู้ชมเฉลี่ยต่อนัดเพียง 5,000 คนนั้นมีรายได้เท่ากับอันดับ 1 ของญี่ปุ่นอย่างสโมสรอุราวะ..."
カテゴリ:ワールド
2018/11/30
ความแตกต่างค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดลาลีก้าและเจลีค

เมือง Eibar ที่มีประชากรเพียง 27,000 คน นับตั้งแต่ที่เลื่อนชั้นมาลีคสูงสุดก็ยังไม่เคยตกชั้นในตลอด 4 ฤดูกาล
(C)Getty Images
แล้วทำไมสโมสรเล็ก ๆ อย่าง Eibar ถึงมีรายได้เทียบเท่ากับอุราวะกันได้ล่ะ? สาเหตุนั้นเกิดจากส่วนแบ่งของทางลีคนั่นเองครับ ในฤดูกาล 2017-2018 นี้ส่วนแบ่งค่าถ่ายทอดลิขสิทธิ์ในฤดูกาลสูงถึง 42.7 ล้านยูโร (ประมาณ 5,550 ล้านเยน) ซึ่งนั่นได้กลายเป็นรายได้หลักของทีม แตกต่างกับสโมสรอุราวะที่ได้รายได้จากการฉายลิขสิทธิ์เพียง 530 ล้านเยนอย่างลิบลับ
การที่เอาแต่พึ่งยอดขายตั๋วกับขายสินค้าอย่างเดียวนั้น หากสินค้าขายไม่ได้เมื่อไรจุดจบก็จะมาเยือนเมื่อนั้น ซึ่งทางลาลีก้าได้ขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดลีคไปยังทั่วทั้งมุมโลก พร้อมกับแบ่งรายได้ดังกล่าวนั้นให้กระจัดกระจายออกไป ส่วนสโมสรที่มีช่องของตัวเองอย่าง Real Madrid TV หรือ Barcelona TV นั้นก็ยังขายลิขสิทธิ์การฉายออกไปได้อีกด้วย ส่วนทางสโมสร Real Betis ที่เป็นสโมสรอยู่ในระดับกลางตารางนั้นที่มีช่องของตัวเองก็ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกเช่นกัน
แต่ถึงแม้ส่วนแบ่งจะมีอย่างมากมาย แต่ก็ใช่ว่าสามารถนำเงินก้อนนั้นไปใช้ได้อย่างอิสระแต่อย่างใด ทางลาลีก้ามีการตั้ง Salary Cap รายปีของแต่ละสโมสรเอาไว้ ซึ่งในปี 2017-2018 นั้นของ Eibar ตกอยู่ที่ 33.2 ล้านยูโร (4,300 ล้านเยน) นั่นเองครับ
การที่เอาแต่พึ่งยอดขายตั๋วกับขายสินค้าอย่างเดียวนั้น หากสินค้าขายไม่ได้เมื่อไรจุดจบก็จะมาเยือนเมื่อนั้น ซึ่งทางลาลีก้าได้ขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดลีคไปยังทั่วทั้งมุมโลก พร้อมกับแบ่งรายได้ดังกล่าวนั้นให้กระจัดกระจายออกไป ส่วนสโมสรที่มีช่องของตัวเองอย่าง Real Madrid TV หรือ Barcelona TV นั้นก็ยังขายลิขสิทธิ์การฉายออกไปได้อีกด้วย ส่วนทางสโมสร Real Betis ที่เป็นสโมสรอยู่ในระดับกลางตารางนั้นที่มีช่องของตัวเองก็ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกเช่นกัน
แต่ถึงแม้ส่วนแบ่งจะมีอย่างมากมาย แต่ก็ใช่ว่าสามารถนำเงินก้อนนั้นไปใช้ได้อย่างอิสระแต่อย่างใด ทางลาลีก้ามีการตั้ง Salary Cap รายปีของแต่ละสโมสรเอาไว้ ซึ่งในปี 2017-2018 นั้นของ Eibar ตกอยู่ที่ 33.2 ล้านยูโร (4,300 ล้านเยน) นั่นเองครับ