Pick Up!

  • トップ
  • ニュース一覧
  • ทำไมถึงได้ยึดติดกับ "การลากเลื้อยประสิทธิผลต่ำ" ขนาดนั้น? ถ้อยคำของคุโบะ ทาเคฟุสะที่อยากให้นากาจิมะ โชยะได้รับฟัง

ทำไมถึงได้ยึดติดกับ "การลากเลื้อยประสิทธิผลต่ำ" ขนาดนั้น? ถ้อยคำของคุโบะ ทาเคฟุสะที่อยากให้นากาจิมะ โชยะได้รับฟัง

カテゴリ:日本代表

白鳥和洋(サッカーダイジェスト)

2019/11/20

การลากเลื้อยของนากาจิมะเป็นดาบสองคม

นากาจิมะในเกมกับเวเนซูเอลาไม่สามารถทำประตูได้ทั้งสิ้น นอกจากนั้นก็เห็นหลายช็อตที่การลากเลื้อยของเขาโดนหยุดเอาไว้ด้วย เขาโชว์ฟอร์มได้อย่างเครื่องไม่ร้อนเลย

ภาพโดย: คาเนโกะ ทาคุยะ(Soccer Digest Photo Team)

画像を見る

[KIRIN CHALLENGE CUP 2019]JAPAN 1-4 VENEZUELA/19 พฤศจิกายน/Panasonic Stadium Suita

  นากาจิมะ โชยะ เล่นมิดฟิลด์ฝั่งซ้ายในระบบ 4-4-2 เขาพยายามลากเลื้อยในแดนกลางหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งมันก็ทำให้ผู้เขียนได้ความรู้สึกว่ามันมีเหตุผลอะไรที่จะต้องดื้อดึงลากเลื้อยทะลวงเข้าไปอย่างนั้นด้วย

  ไม่ได้จะสื่อว่าการลากเลื้อย(dribble)ทุกจังหวะของเขามันไม่ได้เรื่อง แน่นอนว่ามันเป็นอาวุธดีที่หากใช้งานได้อย่างถูกต้องล่ะก็มันจะกลายเป็นอาวุธอันทรงพลังอย่างแน่นอน เพียงแต่ก็เห็นนักเตะเวเนซูเอลาหลายคนสามารถเอาชนะเขาได้ที่บริเวณหัวกระโหลกตรงกลางสนามหลายต่อหลายครั้ง มันกลายเป็นการลากเลื้อยของเขานั้นช่างไม่มีประสิทธิผลเอาเสียเลย

  การลากเลื้อยตรงบริเวณแดนกลางสนามนั้นไม่สามารถขู่อะไรกับนักเตะระดับนี้ได้เลย ซึ่งนั่นก็เป็นความรู้สึกเดียวกันกับที่ผู้เขียนสัมผัสได้ในเดือนมิถุนายนของปีนี้ในศึก Copa America ที่บราซิล

  การลากเลื้อยตรงแดนกลางที่มีความสุ่มเสี่ยงนั้น หากถูกแย่งบอลได้ก็จะกลายเป็นจังหวะสวนกลับทันที เพราะฉะนั้นจึงพูดได้ว่าการลากเลื้อยของนากาจิมะนั้นเปรียบเสมือน "ดาบสองคม" จริงอยู่ที่ถ้าทำสำเร็จตามที่วางเอาไว้มันก็จะกลายเป็นจุดตั้งต้นในเกมรุกที่สำคัญ ทว่าเมื่อเจอกับนักเตะของเวเนซูเอลาที่มีความเข้มข้นสูงนั้น มันก็กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกมรุกเชื่องช้า

  ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในวันนี้คือการลากเลื้อยของนากาจิมะนั้นทำให้จังหวะในเกมหยุดชะงักจนกลายเป็นผลพวงที่ทำให้เกมรุกในทีมเสียจังหวะไปเลย
 
  ฝั่งที่สามารถเล่นฟุตบอลได้อย่างมีประสิทธิผลและเคลื่อนบอลได้อย่างคล่องแคล่วกว่านั้นคือเวเนซูเอลา ทีมสามารถปั้นเกมได้จากทั้งสองฝั่ง เมื่อมีตัวรุกคนที่สามเข้ามา ปีกทั้งสองฝั่งอย่างทั้ง Machis และ Soteldo ก็สามารถเข้ามาลากเลื้อยเข้ามาบุกทะลวงได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่ากลัวและทรงพลังกว่าการลากเลื้อยของนากาจิมะนั้นฝั่งตรงข้ามมีอยู่ทั้งหมดสิ้น เพราะฉะนั้น "การลากเลื้อยที่มีประสิทธิผลต่ำ" จึงมีความสำคัญในการเลือกใช้งานเป็นอย่างยิ่งเลย

  ทางผู้เขียนต้องถือวิสาสะนำเอาคำพูดของคุโบะ ทาเคฟุสะ มาโยนใส่นากาจิมะให้เขารับฟัง ในช่วงครึ่งแรกของ J1 ฤดูกาลนี้เมื่อสมัยคุโบะ ทาเคฟุสะยังอยู่กับ FC Tokyo นั้น คุโบะเคยถูกถามเป็นประจำว่า "ทำไมจังหวะนั้นถึงเลือกที่จะจ่ายบอล" ซึ่งคุโบะก็ตอบหลายต่อหลายครั้งว่า "จ่ายบอลมันเร็วกว่าการลากเลื้อยเข้าไป"

  แทนที่จะฝืนลากเลื้อยเพื่อพาบอลไปข้างหน้าสู้จ่ายตรง ๆ มันดีกว่าเป็นไหน ๆ ในหลายสถานการณ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในเกมครึ่งแรกกับเวเนซูเอลานั้นก็ได้รับความรู้สึกดังกล่าวเยอะมาก ไม่ว่าอย่างไรก็ดี จากการที่เห็นนากาจิมะถูกหยุดการลากเลื้อยในแดนกลางของเขาหลายต่อหลายรอบนั้นมันเป็นสิ่งที่บ่งบอกเลยว่าเขาไม่ควรยึดติดกับการลากเลื้อยในวันนี้มากจริง ๆ

ข่าวโดย ชิราโทริ คาซึฮิโระ(Soccer Digest Editorial Desk)

【PHOTO】เหล่ากองเชียร์สาวแสนสวยที่เติมแต่งสีสันในเกมญี่ปุ่นปะทะเวเนซูเอลา!
【関連記事】

Facebookでコメント