หากให้พูดถึงมุมมองระดับโลกคือ "ความผิดปกติ"
แค่เพียงปีเดียวก็มีนักเตะ 6 คนออกจากทีม แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเหตุผลที่ยังทำให้คาชิม่าไม่ล่มสลายแต่อย่างไร
ภาพโดย: ทาคิคาวะ โทชิยูกิ
「PLAYERS FIRST(ผู้เล่นต้องมาก่อน)」
นั่นคือหนึ่งในปรัชญาของสโมสรแห่งเจลีก
ว่าแต่ว่าจะสามารถปกป้องได้ถึงขนาดไหน อาจจะมีเหล่านักเตะที่บิดเบี้ยวที่ชอกช้ำภายในองค์กรอยู่... ไม่ว่าจะสังคมไหนต่างก็เป็นเหมือนกัน สิ่งที่กังวลกลัดกลุ้มนั้นไม่สามารถแสดงออกมาในเชิงนามธรรมได้
ความเย็นชานั้นคือสิ่งเที่ยงธรรมในแวดวงของมืออาชีพที่ลงแข่งต้องมีแพ้และชนะ แน่นอนว่าผู้ที่ไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ก็ต้องเจอกับความโหดร้าย แต่สิ่งที่แลกเปลี่ยนกับความทารุณนั้นคือรสชาติของความสำเร็จที่เฝ้ารอ นี่คือโลกแห่ง HIGH RISK HIGH RETURN นั่นเอง
แต่ก็ยังมีกรณีที่ทฤษฎีแห่งการแข่งขันนั้นไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้
ตัวอย่างเช่นในฤดูกาลหนึ่งของเจลีก นักเตะที่เป็นกำลังสำคัญของทีมนั้นกลับประกาศว่าเจ้าตัวต้องการยกเลิกสัญญากับทีม หากเป็นนักเตะที่ไม่ค่อยได้มีโอกาสลงสนามเท่าไรนักก็พอจะเข้าใจ แต่การที่นักเตะผู้เป็นกำลังสำคัญและสร้างความสำเร็จเอาไว้กลับต้องการยกเลิกสัญญานั้นก็เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างในฤดูกาลนั้นแล้ว
"ก็เพราะว่าทิศทางของสโมสรมันเปลี่ยนไป"
ความคิดเห็นลักษณะนี้ได้ยินจนชินชา การตัดสินใจนี้ต้องให้นักเตะเป็นอันดับหนึ่งหรือไม่? ความตะขิดตะขวงใจที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่บิดเบี้ยวของความเป็นองค์กร
"สำหรับนักเตะนั้นอะไรคือมาตรฐานในการประเมินค่า" ประเด็นนี้คือสิ่งที่อยากรู้อยู่เสมอ และสิ่งที่เฝ้าถวิลหายิ่งกว่าอะไรนั้นคือ "ต้องการได้รับการตอบแทนที่เหมาะสม" หากการประเมินค่ามันคู่ควร นักเตะก็สามารถอดทนต่อความไร้เหตุผลได้
หากพูดในอีกนัยหนึ่งแล้ว สำหรับโลกแห่งมืออาชีพนั้นมาตรฐานครึ่ง ๆ กลาง ๆ คือสิ่งที่สร้างความกระอักกระอ่วนได้อย่างมากที่สุด
"PLAYERS FIRST"
น่าตั้งคำถามถึงความหมายของคำนี้อีกครั้ง
อันที่จริงในเจลีกนั้น "ผู้ที่สามารถทำงานได้ในตำแหน่งเชิงผู้จัดการทั่วไปนั้นขาดแคลนอย่างมหาศาล" คือสิ่งที่พูดกันมาอย่างยาวนาน คือไม่ใช่ว่าไม่มีเลยเพียงแต่ขาดแคลนทรัพยากรที่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ของเจลีกนั้นสอดคล้องกับฝีมือของผู้จัดการก็ว่าได้กระมัง
นั่นคือหนึ่งในปรัชญาของสโมสรแห่งเจลีก
ว่าแต่ว่าจะสามารถปกป้องได้ถึงขนาดไหน อาจจะมีเหล่านักเตะที่บิดเบี้ยวที่ชอกช้ำภายในองค์กรอยู่... ไม่ว่าจะสังคมไหนต่างก็เป็นเหมือนกัน สิ่งที่กังวลกลัดกลุ้มนั้นไม่สามารถแสดงออกมาในเชิงนามธรรมได้
ความเย็นชานั้นคือสิ่งเที่ยงธรรมในแวดวงของมืออาชีพที่ลงแข่งต้องมีแพ้และชนะ แน่นอนว่าผู้ที่ไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ก็ต้องเจอกับความโหดร้าย แต่สิ่งที่แลกเปลี่ยนกับความทารุณนั้นคือรสชาติของความสำเร็จที่เฝ้ารอ นี่คือโลกแห่ง HIGH RISK HIGH RETURN นั่นเอง
แต่ก็ยังมีกรณีที่ทฤษฎีแห่งการแข่งขันนั้นไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้
ตัวอย่างเช่นในฤดูกาลหนึ่งของเจลีก นักเตะที่เป็นกำลังสำคัญของทีมนั้นกลับประกาศว่าเจ้าตัวต้องการยกเลิกสัญญากับทีม หากเป็นนักเตะที่ไม่ค่อยได้มีโอกาสลงสนามเท่าไรนักก็พอจะเข้าใจ แต่การที่นักเตะผู้เป็นกำลังสำคัญและสร้างความสำเร็จเอาไว้กลับต้องการยกเลิกสัญญานั้นก็เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างในฤดูกาลนั้นแล้ว
"ก็เพราะว่าทิศทางของสโมสรมันเปลี่ยนไป"
ความคิดเห็นลักษณะนี้ได้ยินจนชินชา การตัดสินใจนี้ต้องให้นักเตะเป็นอันดับหนึ่งหรือไม่? ความตะขิดตะขวงใจที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่บิดเบี้ยวของความเป็นองค์กร
"สำหรับนักเตะนั้นอะไรคือมาตรฐานในการประเมินค่า" ประเด็นนี้คือสิ่งที่อยากรู้อยู่เสมอ และสิ่งที่เฝ้าถวิลหายิ่งกว่าอะไรนั้นคือ "ต้องการได้รับการตอบแทนที่เหมาะสม" หากการประเมินค่ามันคู่ควร นักเตะก็สามารถอดทนต่อความไร้เหตุผลได้
หากพูดในอีกนัยหนึ่งแล้ว สำหรับโลกแห่งมืออาชีพนั้นมาตรฐานครึ่ง ๆ กลาง ๆ คือสิ่งที่สร้างความกระอักกระอ่วนได้อย่างมากที่สุด
"PLAYERS FIRST"
น่าตั้งคำถามถึงความหมายของคำนี้อีกครั้ง
อันที่จริงในเจลีกนั้น "ผู้ที่สามารถทำงานได้ในตำแหน่งเชิงผู้จัดการทั่วไปนั้นขาดแคลนอย่างมหาศาล" คือสิ่งที่พูดกันมาอย่างยาวนาน คือไม่ใช่ว่าไม่มีเลยเพียงแต่ขาดแคลนทรัพยากรที่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ของเจลีกนั้นสอดคล้องกับฝีมือของผู้จัดการก็ว่าได้กระมัง
น่าครุ่นคิดถึงเหตุผลอีกครั้งว่าเหตุใด Kashima Antlers ที่มีความแข็งแกร่งอย่างเสถียรภาพและสามารถคว้าถ้วยรางวัลได้เยอะที่สุดในเจลีกกันแน่
"ขอบพระคุณที่คอยเฝ้าดูการโชว์ฟอร์มของผมกับคาชิม่ามาตลอด 10 ปี"
ท้ายที่สุดแล้วนักเตะที่ไม่สามารถคว้าตำแหน่งเป็นหลักแหล่งได้นั้นก็กล่าวถ้อยคำขอบคุณสโมสรออกมา นั่นก็หมายความว่านักเตะคนนั้นสัมผัสได้ถึงการประเมินค่าอย่างถูกต้องและคู่ควรของสโมสรที่มีต่อเขาเอง ห้วงบรรยากาศเหล่านี้จะเป็นการชักชวนนักเตะดี ๆ ให้เข้ามามากขึ้นและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
สำหรับสโมสรแล้ว นี่คือการแข่งขันอย่างถูกต้องเหมาะสม
แค่เพียงหนึ่งปีแต่อุเอดะ นาโอมิจิ, โชจิ เกน, นิชิ ไดโก, อาเบะ ฮิโรกิ, อันไซ โคกิและสุซุกิ ยูมะ ทีมขาดนักเตะผู้เป็นกำลังสำคัญไปถึง 6 คน แต่กระนั้นก็ยังคงรักษาความแข็งแกร่งเอาไว้ได้ หลังจากที่พวกเขาจากไปก็ได้ ชิราซากิ เรียวเฮย์, โคอิเคะ ยูตะ, อุเอดะ อายาเสะและโซมะ ยูกิ ที่เป็นเหล่านักเตะผู้มากความสามารถเข้ามาเสริมทัพ ทีมเต็มไปด้วยนักเตะรอายุน้อยที่นำโดยอินุไค โทโมยะและมาจิดะ โคคิ มีนักเตะจากคาชิม่าหลายคนที่ได้โลดแล่นในเวทีโลก พวกเขาเหล่านั้นเห็นถึงความเป็นไปได้ พวกเขาแสดงฟอร์มการเล่นออกมาอย่างมั่นใจภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว เรียกได้ว่านี่คือวัฏจักรในแง่บวกของสโมสรที่เวียนว่ายไปมา
คอยดูแลชีวิตของนักเตะเอาไว้...
ซึ่งนั่นคือความรับผิดชอบของสโมสร ถึงแม้จะมีการตัดขาดอย่างไร้ปราณีแต่การตัดขาดก็ไม่ใช่มืออาชีพ ในช่วงหยุดพักจากฤดูกาลก่อนมีนักเตะหลายคนที่ "สิ้นสุดสัญญา" จากการเล่นใน J1 พวกเขาต่างก็สับสนหลงทาง อย่าว่าแต่จะเล่นใน J1 อีกรอบเลย จะหาทีมใน J2 ก็ไม่ได้ จะไป J3 ก็ไม่ใช่เรื่อง สภาพการณ์ดังกล่าวนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน หากให้พูดถึงมุมมองระดับโลกเลยมันก็คือสิ่งที่เรียกว่า "ความผิดปกติ"
การร่วมเดินเคียงข้างกับนักเตะที่ผ่านทางนั้นคือสิ่งที่ทำให้สโมสรได้รับความเคารพ
นั่นแหละคือโครงสร้างที่แท้จริงของแนวทาง PLAYERS FIRST กระมัง
ข่าวโดย โคมิยะ โยชิยูกิ
【ประวัติผู้เขียน】
โคมิยะ โยชิยูกิ/เกิดปี 1972 ที่จังหวัดโยโกฮาม่า มีโอกาสศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Salamanca ในประเทศสเปน เมื่อปี 2001 ทำงานเป็นนักข่าวที่เมืองบาร์เซโลน่า ไม่เพียงเฉพาะเรื่องนักเตะเท่านั้นแต่ข้อมูลเกี่ยวกับฟุตบอลก็ไหลท่วมพรั่งพรูจนสามารถเรียงร้อยออกมาเป็นวิถีชีวิต มีผลงานเขียนมากมายอาทิ "การท้าทายสู่การเป็นผู้ถูกเลือก ทฤษฎีฟุตบอลสุดพิศวงที่แสนภาคภูมิใจ" "FUTBOL TEATRO โรงละครลาลีก้า"(ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์โทโฮ) ในเดือนมีนาคม 2018 กลายเป็นนักเขียนนิยายด้วยการออกผลงาน "ลาสต์ชู้ต ไม่มีทางลืมสายสัมพันธ์" กับสำนักพิมพ์คาโดคาวะ
"ขอบพระคุณที่คอยเฝ้าดูการโชว์ฟอร์มของผมกับคาชิม่ามาตลอด 10 ปี"
ท้ายที่สุดแล้วนักเตะที่ไม่สามารถคว้าตำแหน่งเป็นหลักแหล่งได้นั้นก็กล่าวถ้อยคำขอบคุณสโมสรออกมา นั่นก็หมายความว่านักเตะคนนั้นสัมผัสได้ถึงการประเมินค่าอย่างถูกต้องและคู่ควรของสโมสรที่มีต่อเขาเอง ห้วงบรรยากาศเหล่านี้จะเป็นการชักชวนนักเตะดี ๆ ให้เข้ามามากขึ้นและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
สำหรับสโมสรแล้ว นี่คือการแข่งขันอย่างถูกต้องเหมาะสม
แค่เพียงหนึ่งปีแต่อุเอดะ นาโอมิจิ, โชจิ เกน, นิชิ ไดโก, อาเบะ ฮิโรกิ, อันไซ โคกิและสุซุกิ ยูมะ ทีมขาดนักเตะผู้เป็นกำลังสำคัญไปถึง 6 คน แต่กระนั้นก็ยังคงรักษาความแข็งแกร่งเอาไว้ได้ หลังจากที่พวกเขาจากไปก็ได้ ชิราซากิ เรียวเฮย์, โคอิเคะ ยูตะ, อุเอดะ อายาเสะและโซมะ ยูกิ ที่เป็นเหล่านักเตะผู้มากความสามารถเข้ามาเสริมทัพ ทีมเต็มไปด้วยนักเตะรอายุน้อยที่นำโดยอินุไค โทโมยะและมาจิดะ โคคิ มีนักเตะจากคาชิม่าหลายคนที่ได้โลดแล่นในเวทีโลก พวกเขาเหล่านั้นเห็นถึงความเป็นไปได้ พวกเขาแสดงฟอร์มการเล่นออกมาอย่างมั่นใจภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว เรียกได้ว่านี่คือวัฏจักรในแง่บวกของสโมสรที่เวียนว่ายไปมา
คอยดูแลชีวิตของนักเตะเอาไว้...
ซึ่งนั่นคือความรับผิดชอบของสโมสร ถึงแม้จะมีการตัดขาดอย่างไร้ปราณีแต่การตัดขาดก็ไม่ใช่มืออาชีพ ในช่วงหยุดพักจากฤดูกาลก่อนมีนักเตะหลายคนที่ "สิ้นสุดสัญญา" จากการเล่นใน J1 พวกเขาต่างก็สับสนหลงทาง อย่าว่าแต่จะเล่นใน J1 อีกรอบเลย จะหาทีมใน J2 ก็ไม่ได้ จะไป J3 ก็ไม่ใช่เรื่อง สภาพการณ์ดังกล่าวนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน หากให้พูดถึงมุมมองระดับโลกเลยมันก็คือสิ่งที่เรียกว่า "ความผิดปกติ"
การร่วมเดินเคียงข้างกับนักเตะที่ผ่านทางนั้นคือสิ่งที่ทำให้สโมสรได้รับความเคารพ
นั่นแหละคือโครงสร้างที่แท้จริงของแนวทาง PLAYERS FIRST กระมัง
ข่าวโดย โคมิยะ โยชิยูกิ
【ประวัติผู้เขียน】
โคมิยะ โยชิยูกิ/เกิดปี 1972 ที่จังหวัดโยโกฮาม่า มีโอกาสศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Salamanca ในประเทศสเปน เมื่อปี 2001 ทำงานเป็นนักข่าวที่เมืองบาร์เซโลน่า ไม่เพียงเฉพาะเรื่องนักเตะเท่านั้นแต่ข้อมูลเกี่ยวกับฟุตบอลก็ไหลท่วมพรั่งพรูจนสามารถเรียงร้อยออกมาเป็นวิถีชีวิต มีผลงานเขียนมากมายอาทิ "การท้าทายสู่การเป็นผู้ถูกเลือก ทฤษฎีฟุตบอลสุดพิศวงที่แสนภาคภูมิใจ" "FUTBOL TEATRO โรงละครลาลีก้า"(ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์โทโฮ) ในเดือนมีนาคม 2018 กลายเป็นนักเขียนนิยายด้วยการออกผลงาน "ลาสต์ชู้ต ไม่มีทางลืมสายสัมพันธ์" กับสำนักพิมพ์คาโดคาวะ